ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย
1.บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ให้บริการ 2 เครือข่ายคือ
บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT Public Company Limited) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสื่อสารโทรคมนาคม และถือเป็นกิจการโทรศัพท์แห่งชาติของไทย ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรศัพท์และการสื่อสาร แปรรูปมาจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ปัจจุบันยังคงมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด

ทีโอที ทำหน้าที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมทุกประเภท ทั้งในและระหว่างประเทศ ผ่านบริการต่าง ๆ ทั้งทางสายโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งประกอบด้วยใบอนุญาตแบบที่ 3 (ที่มีโครงข่ายของตนเองเพื่อให้เช่าใช้) เดิมเป็นองค์กรที่ทั้งควบคุมการให้บริการโทรคมนาคม และเป็นผู้ให้บริการวิทยุสื่อสาร แต่ในปัจจุบันโอนหน้าที่กำกับดูแลไปยังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ให้บริการระบบ NMT470 (ปัจจุบันปรับระบบไปใช้เป็นโครงข่าย โทรศัพท์สาธารณะเคลื่อนที่ และใช้เป็นระบบโทรศัพท์เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในเขตนอกข่ายสายและถิ่นทุรกันดาร โดยใช้เป็นโทรศัพท์ประจำที่ติดตั้งภายในอาคาร มีสายอากาศรับสัญญาณ ภายหลัง พ.ศ. 2551 จึงได้ปรับระบบเป็น CDMA 2001X ให้บริการระบบ 3G บนโครงข่าย HSPA บนความถี่ 1900MHz(ความถี่ ThaiMobile เดิม) และความถี่ 2100MHz(ความถี่ทดลอง) ในชื่อ TOT3G ในพื้นที่ กทม.

2. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
จ้าของโครงข่าย และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 เครือข่าย ในระบบ 3G บนเทคโนโลยี CDMA 2000 1x EV-DO ภายใต้ชื่อ "CATCDMA" สำหรับบริการทางเสียงและ SMS ของ CAT CDMA ใช้งานได้ 77 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล ใช้งานได้ 52 จังหวัด ในพื้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และใต้ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน ชัยนาท นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี เลย หนองคาย บึงกาฬ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต สุราษฏร์ธานี สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส  และให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 850 MHz ภายใต้ชื่อ "มาย" (My) เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ปัจจุบันเปิดให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด

3.บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส
             รับสัมปทานให้บริการระบบ NMT900 จาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในชื่อ CELLULAR 900 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว) ปัจจุบันให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 900MHz โดยรับสัมปทานจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในชื่อ GSM Advance และ One-2-Call GSM Advance และ One-2-Call ให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 900 MHz และ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 900 MHz ปัจจุบันทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี LTE โดยร่วมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ทดสอบระบบในกรุงเทพฯ (บริเวณถนนพระรามที่ 1) ตั้งแต่หน้ามาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงบริเวณแจ้งวัฒนะในพื้นที่กระทรวงไอซีที ศูนย์ราชการ และสำนักงานทีโอที ใช้ย่านความถี่ 2300 MHz แบบ Time Division Duplex (TDD) ที่แบนด์วิดท์ 20 MHz จะทดสอบการให้บริการบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง (BWA) มีสถานีฐานทั้งหมด 20 แห่ง

4.บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ให้บริการ 1 เครือข่าย
ให้บริการในระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz ภายใต้ชื่อ GSM1800 โดยรับสัมปทานจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (ผ่านการซื้อกิจการของ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ซึ่งเป็นโครงข่ายในชื่อการค้า Hello เดิม) เปิดให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 1800 MHz ปัจจุบันทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี LTE โดยร่วมมือกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม ทดสอบระบบ 4G ในจังหวัดมหาสารคาม บริเวณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ใช้ความถี่ 1800 MHz แบบ Frequency Division Duplex (FDD) ที่แบนด์วิดท์ 10 MHz มีสถานีฐานทั้งหมด 8 แห่ง

5.บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ปัจจุบันให้บริการ 1 เครือข่ายคือ
รับสัมปทานให้บริการระบบ AMPS 800 Band-B จาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในชื่อ Wordphone 800 (ปัจจุบันยกเลิกการให้บริการแล้ว) รับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในชื่อ Wordphone 1800 ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "ดีแทค" (DTAC) ในระบบจดทะเบียน และ "แฮปปี้" (Happy) ในระบบเติมเงิน ดีแทคให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด บนเทคโนโลยี EDGE/GPRS ความถี่ 1800 MHz และ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ความถี่ 850 MHz ปัจจุบันกำลังทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อสารข้อมูล 4G บนเทคโนโลยี LTE

6.บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ให้บริการ 1 เครือข่ายคือ
รับสัมปทานให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1800 MHz จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันให้บริการ 3G บนโครงข่าย HSPA ความถี่ 850 MHz ในบริเวณบางพื้นที่ของ กทม. และ พัยา เชียงใหม่ ภูเก็ต [7] สัมปทานจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2556

7.บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ให้บริการ 1 เครือข่ายคือ
ผู้ขายต่อบริการ (Reseller) ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ HSPA ในความถี่ 850 MHz และบริการ 3G ในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ ทรูมูฟ เอช” (Truemove H) ให้บริการทางเสียงและสื่อสารข้อมูล ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด

8.บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด หรือ ฮัทช์
ตัวแทนผู้ให้บริการด้านการตลาด โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA20001x ในพื้นที่ กรุงเทพฯ และ 25 จังหวัดจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ภายใต้แบรนด์ฮัทช์ (HUTCH) ปัจจุบันกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่นและกสท. โดยบริษัทเรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้เข้าซื้อกิจการและโครงข่าย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ของบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ HWMH และ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด หรือ BFKT

9.บริษัท ไทย โมบาย จำกัด
เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยการลงทุนร่วมกันระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อให้บริการระบบ GSM บนความถี่ 1900MHz ในพื้นที่ กทม. แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการให้บริการ ต่อมาบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ทำการซื้อหุ้นจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 49% กลับมาทั้งหมด เพื่อต้องการให้ได้สิทธิ์ในการบริหารและสิทธิ์การให้บริการ เพื่อนำความถี่ GSM1900 MHz มาพัฒนาระบบระบบ 3G (ปัจจุบันได้ให้บริการระบบ 3G ในความถี่นี้แล้ว และได้ยกเลิกระบบ GSM1900 ในระบบ 2.75G)
ข้อแตกต่าง 3G ความถี่ 850 MHz กับ 2100 MHz

             ความถี่ที่ยิ่งสูง จะมีพื้นที่กระจายสัญญาณแคบ ต้องวางเสากระจายสัญญาณจำนวนมาก ขณะที่ความถี่ที่ต่ำแบบ 850 MHz นั้นกลับให้บริการพื้นที่ครอบคลุมและกว้างมากกว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าผู้ให้บริการรายใหญ่ อย่างเช่น AT&T ในอเมริกา หรือ Telstra Mobile ของออสเตรเลียก็เลือกใช้คลื่น 850 MHz เช่นกัน จะเห็นว่า 3G ไม่ว่าจะอยู่บนความถี่ใดก็ตาม ก็ล้วนเป็น 3G ของจริงทั้งนั้น ไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็น 2100 MHz และที่น่าสนใจคือ 850 MHzกลับให้บริการในพื้นที่ ที่กว้างกว่า ครอบคลุมมากกว่านั่นเอง
คลื่นความถี่ย่านที่สูงกว่า 1GHz (1.8GHz, 2.1GHz, 2.3GHz, 2.6GHz) เรียกว่าย่าน high band คลื่นความถี่ย่านนี้มีข้อดีคือมีปริมาณคลื่นให้จัดสรรได้มาก สามารถจัดสรรเพิ่มเติมได้อีกในอนาคต แต่มีข้อเสียคือส่งสัญญาณได้ไม่ไกล ต้องตั้งสถานีฐานจำนวนมากจึงจะครอบคลุมพื้นที่ได้ทั่วถึง
คลื่นความถี่ย่านที่ต่ำกว่า 1GHz (700MHz, 850MHz, 900MHz) เรียกว่าย่าน low band คลื่นความถี่ย่านนี้มีข้อดีคือส่งสัญญาณได้ไกล ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง แต่คลื่นความถี่ย่านนี้มีปริมาณความถี่ให้จัดสรรได้น้อย ไม่เพียงพอต่อการรองรับปริมาณการเติบโตของดาต้าในระยะยาว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

ภาคBASEBAND หรือ ภาคBB

การทำงานบล็อกไดอะแกรม ของเครื่องรับวิทยุ AM,FM