การทำงานบล็อกไดอะแกรม วงจรเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร
การทำงานของบล็อกไดอะแกรมเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร
วิทยุสื่อสาร
วิทยุสื่อสารหรือเรียกอีกชื่อว่า วิทยุคมนาคม เป็นอุปกรณ์ที่แปลงกระแสไฟฟ้า เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบเป็น ภาครับ และภาคส่ง แผ่กระจายคลื่นวิทยุออกทางสายอากาศ เป็นเครื่องมือในสื่อสารชนิดกึ่งสองทาง ถูกนำมาใช้งานในหลายประเภท เช่น วิทยุราชการ วิทยุสมัครเล่น วิทยุภาคประชาชน เป็นต้น
ส่วนประกอบวิทยุสื่อสาร
ส่วนประกอบของวิทยุสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 3ส่วนหลักๆ คือ
1.ตัวเครื่อง
ตัวเครื่องของวิทยุสื่อสารจะเป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยแผงวงจรและอุปกรณ์ต่างๆที่เครื่องวิทยุสื่อสารแต่ละรุ่นถูกออกแบบมา
2.แหล่งพลังงาน
แหล่งพลังงานคือตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนที่จะป้อนพลังงานให้กับตัวเครื่องให้เครื่องวิทยุสื่อสารามารถ ทำงานได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบแหล่งพลังงานแบบแบตเตอรี่แพค(battery pack) และแบบไฟฟ้ากระแสตรง(DC volts)
3.สายอากาศ
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับสัญญาณวิทยุ ที่อยู่ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาในตัวเครื่องเพื่อผ่านการแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า และในทางกลับกันสายอากาศ จะทำหน้าที่แพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ผ่านการแปลงจากกระแสไฟฟ้ามาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ส่งออกไปยังเครื่องรับสัญญาณวิทยุปลายทางคลื่นวิทยุเกิดจากการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในสายอากาศ แล้วแผ่กระจายไปในอากาศ (ลักษณะเดียวกับคลื่นในน้ำ) เป็นลูกคลื่น มียอดคลื่นและท้องคลื่น การเคลื่อนตัวหนึ่งรอบคลื่น หมายถึง จากผิวน้ำ-ขึ้นไปถึงยอดคลื่น-ตกลงที่ท้องคลื่น-และกลับขึ้นมาเสมอผิวน้ำ ความถี่ของคลื่นวิทยุมีหน่วยต่อวินาที (CPS : Cycle Per Second) เพื่อให้เกียรติแด่ผู้ค้นพบจึงเรียก "หน่วยต่อวินาที" ว่า "เฮิรตซ์" (Hz)
คลื่นวิทยุ
คลื่นวิทยุ คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ค้นพบโดยเจมส์แมกซ์เวลล์ (James c. Maxwell) เมื่อราวปี ค.ศ.1864 ต่อมา ไฮริชเฮิรตซ์ (Heinrich Hertz) ทดลองพิสูจน์ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ใช้ได้จริง ในปี ค.ศ.1887 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความเร็ว 300,000,000 เมตร/วินาที หรือเท่ากับความเร็วแสง
หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสาร
การเตรียมการก่อนการเรียกขาน
1. ต้องจดบันทึกหรือเตรียมข้อความที่จะพูดไว้ก่อน เพื่อความรวดเร็ว การทวงถามถูกต้อง และเป็นหลักฐานในการติดต่อของสถานีตนเองอีกด้วย
2. ข้อความที่จะพูดทางวิทยุ ต้องสั้น กะทัดรัด ชัดเจน และได้ใจความ
3. ก่อนพูดต้องฟังก่อนว่าข่ายสื่อสารนั้นว่างหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่เกิดการรบกวนการทำงานของสถานีอื่น โดยต้องใช้นามเรียกขานที่กำหนดให้เท่านั้น
4. ตรวจสอบนามเรียกขานของหน่วยงานหรือบุคคลที่จะต้องทำการติดต่อสื่อสารก่อน
5. การเรียกขานหรือการตอบการเรียก ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของข่ายสื่อสารการเรียกขาน
การเรียกขานต้องครบองค์ประกอบ ดังนี้
- “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก
- “จาก"
- “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก
- “เปลี่ยน”
การตอบรับการเรียกขาน
การตอบในการเรียกขาน ครั้งแรกต้องตอบแบบเต็ม ซึ่งประกอบด้วย
ก. “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่เรียก
ข. “จาก”
ค. “นามเรียกขาน” ของสถานี, บุคคลฯ ที่ถูกเรียก
ง. “เปลี่ยน”
*ตัวอย่างที่ 1
(ศูนย์ฯ เรียก) เขตป้อมปราบ 401 จาก อุบัติภัย เปลี่ยน
(ลูกข่ายตอบ) อุบัติภัย จาก เขตป้อมปราบ 401 เปลี่ยน หรือ
(ลูกข่ายตอบ) จาก เขตป้อมปราบ 401 ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ) หรือ
(ลูกข่ายตอบ) เขตป้อมปราบ 401 ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ)
*ตัวอย่างที่ 2
(ศูนย์ฯ เรียก) เขตป้อมปราบ 44 จาก เขตป้อมปราบ 401 เปลี่ยน
(ลูกข่ายตอบ) เขตป้อมปราบ 401 จาก เขตป้อมปราบ 44 เปลี่ยน หรือ
(ลูกข่ายตอบ) จาก เขตป้อมปราบ 44 ว.2 เปลี่ยน (ตอบอย่างย่อ) หรือ
(ลูกข่ายตอบ) เขตป้อมปราบ 44 ว.2 เปลี่ยน
ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร
1. การติดต่อสื่อสารโดยทั่วไปเรียกศูนย์ฯ ที่สังกัด
- การเรียกขาน / การตอบ
- ใช้นามเรียกขานที่กำหนด
2. แจ้งข้อความ / วัตถุประสงค์ / ความต้องการ
- สั้น กะทัดรัด ชัดเจน ได้ใจความ
- ใช้ประมวลสัญญาณ ว. ที่กำหนด
3. จบข้อความลงท้ายคำว่าเปลี่ยน
การรับ / แจ้งเหตุฉุกเฉิน
1. เมื่อพบเหตุหรือต้องการความช่วยเหลือให้แจ้งศูนย์ฯ ที่สังกัดหรือสัญญาณ ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้
2. เตรียมรายละเอียด (ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร) ของเหตุเพื่อจะได้แจ้งได้ทันที
3. เมื่อแจ้งเหตุแล้วควรเปิดเครื่องรับ – ส่งวิทยุให้พร้อมไว้เพื่อจะได้ฟังการติดต่อประสานงาน รายละเอียดเพิ่มเติม
4. เมื่อแจ้งเหตุแล้วควรรายงานผลคืบหน้าในการประสานงานเป็นระยะ
5. เมื่อมีผู้แจ้งเหตุแล้วไม่ควรสอดแทรกเข้าไป ควรฟังอย่างสงบเพื่อมิให้เกิดการรบกวนและความสับสน
มารยาทและข้อห้ามการใช้วิทยุสื่อสาร
1. ไม่ติดต่อกับสถานีที่ใช้นามเรียกขานไม่ถูกต้อง
2. ไม่ส่งข่าวสารที่เกี่ยวกับข่าวทางธุรกิจการค้า
3. ไม่ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร
4. ไม่แสดงอารมณ์โกรธในการติดต่อสื่อสาร
5. ห้ามการรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
6. ไม่ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง และการโฆษณาทุกประเภท
7. ให้โอกาสสถานีที่มีข่าวสำคัญ เร่งด่วน ข่าวฉุกเฉิน ส่งข่าวก่อน
8. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้เครื่องวิทยุคมนาคม
9. ห้ามติดต่อสื่อสารในขณะมึนเมาสุราหรือควบคุมสติไม่ได้
10. ในกรณีที่มีเรื่องเร่งด่วนต้องการส่งแทรกหรือขัดจังหวะการส่งข่าวควรรอจังหวะที่คู่สถานีจบข้อความที่สำคัญก่อนแล้วจึงส่ง
การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องวิทยุคมนาคม
เครื่องรับ– ส่งวิทยุคมนาคม
1. การใช้เครื่องวิทยุคมนาคมชนิดมือถือไม่ควรอยู่ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง ต้นไม้ใหญ่ สะพานเหล็ก หรือสิ่งกำบังอย่างอื่นที่เป็นอุปสรรคในการใช้ความถี่วิทยุ
2. ก่อนใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ตรวจดูว่าสายอากาศ หรือสายนำสัญญาณต่อเข้ากับขั้วสายอากาศเรียบร้อยหรือไม่
3. ขณะส่งออกอากาศไม่ควรเพิ่มหรือลดกำลังส่ง (HI – LOW)
4. ในการส่งข้อความ หรือพูดแต่ละครั้งอย่ากดสวิทซ์ (PTT) ไม่ควรส่งนานเกินไป (เกินกว่า 30วินาที)
แบตเตอรี่
1. แบตเตอรี่ใหม่ให้ทำการประจุกระแสไฟฟ้าครั้งแรกนานประมาณ 16 ชั่วโมง ก่อนการนำไปใช้งาน และครบ 16 ชั่วโมงแล้ว ให้นำแบตเตอรี่ออกจากเครื่องประจุแบตเตอรี่จนกว่าแบตเตอรี่จะเย็น จึงจะนำแบตเตอรี่ไปใช้งานได้
2. แบตเตอรี่ (NICKEL CADMIUM) ต้องใช้งานให้หมดกระแสไฟฟ้าจึงจะนำไปประจุกระแสไฟฟ้าได้
3. การประจุกระแสไฟฟ้าหลังจากกระแสไฟฟ้า ตามข้อ 2 หมดแล้ว ให้นำไปทำการประจุกระแสไฟฟ้าใหม่ตามระยะเวลาใช้งานแบตเตอรี่
4. ถ้าแบตเตอรี่ใช้งานไม่หมดกระแสไฟฟ้า ไม่ควร ทำการประจุกระแสไฟฟ้าเนื่องจากจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด (NICKEL CADMIUM)
5. ถ้าแบตเตอรี่สกปรกทั้งที่ตัวเครื่องรับ – ส่ง และขั้วแบตเตอรี่ให้ทำความสะอาดโดยใช้ยางลบสำหรับลบหมึกทำความสะอาด
สายอากาศ
1. ความยาวของสายอากาศจะต้องสัมพันธ์กับความถี่วิทยุที่ใช้งาน
2. สายอากาศชนิดชัก ต้องชักสายอากาศให้สุดในขณะใช้งาน และเก็บทีละท่อน
การพกพาเครื่องวิทยุคมนาคม
1. วิทยุสื่อสารให้ใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่ได้รับอนุญา
2. การพกพาเครื่องวิทยุชนิดมือถือ ต้องนำใบอนุญาตติดตัวไปด้วย หรือถ่ายสำเนาและมีการรับรองสำเนาด้วย
3. การพกพาเครื่องวิทยุชนิดมือถือเข้าไปในสถานที่ต่าง ๆ ควรพิจารณาถึงสภาพของสถานที่ด้วยว่าควรปฏิบัติอย่างไร เช่น ในห้องประชุม ในร้านอาหาร ถ้าจำเป็นควรใช้หูฟัง
4. ขณะพกพาวิทยุควรแต่งกายให้เรียบร้อย และมิดชิดโดยสุภาพ
5. ในกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ ควรให้ความร่วมมือ โดยสุภาพ
ประโยชน์ของการใช้วิทยุสื่อสาร มีดังนี้
- บุคคลทั่วไปสามารถซื้อหามาใช้ได้ และไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน
- ไม่พลาดการติดต่อสื่อสารทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการจำกัดพื้นที่ เช่น ภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง ท่าเรือ ขนส่งโรงงานอุตสาหกรรม งานรักษาความปลอดภัย งานประกันภัย เกษตรกรรม การท่าอากาศยาน โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว เป็นต้น
- ใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารแทนอุปกรณ์สื่อสารที่ไม่สามารถติดต่อได้ในพื้นที่ ที่จำกัด
- ไม่จำกัดระยะเวลาการติดต่อสื่อสาร
- สามารถติดตั้งในรถยนต์ได้ โดยใช้สายอากาศเพิ่มเติม เพิ่มขีดความสามารถในการรับส่ง ได้หลายสิบกิโลเมตร
- สามารถติดต่อระหว่างตัวเครื่อง / เครื่อง ได้ระยะ 5 - 100 กิโลเมตร (ขึ้นอยู่กับประเภทของ เครื่อง)
- ระยะเวลาในการใช้งานสามารถแสตนบายแบตเตอรี่ได้ 1 - 2 วัน
- มีช่องใช้งานหลัก 80 ช่องใหญ่ และมีช่องย่อยมากกว่า 4,000 ช่อง
วิทยุสื่อสาร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น