ภาคBASEBAND หรือ ภาคBB


ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ (Baseband)


จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ อุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบ Baseband รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ(เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน modems และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลักๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B-ISDN ที่เป็นแบบ Broadband
Baseband  คือการเข้ารหัส ทางดิจิตอล โดยมีค่าทางไฟฟ้า 0 และ 1 โดยแบ่งออกเป็ตามมาตรฐาน ต่างๆ ดังนี้ 10 Base 5 , 10Base 2 ,10 Base-T, 1Base5 และ 100Base-T โดยตามมาตรฐานคือการส่งสัญญาณ 10 Base xx คือ 10 Mbps ส่วนด้านหลังคือความยาวของสาย เช่น 100Base -T คือ ความเร็ว 100 Mbps ใช้บนสาย Pair หรือสายแลน
โดย   Baseband   จะใช้วิธีการส่ง คือช่องสื่อสารเดียว ซึ่งแตกต่างกับ แบบ  Broadband ที่ สายสัญญาณ 1 เส้น สามารถ ใช้ได้หลายๆช่องสัญญาณ ด้วยเทคนิคดังกล่าวจะเห็นได้ว่าค่ายๆ บริษัทอินเตอร์เน็ต นำมาใช้กันเพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย และการบำรุงรักษา ได้เป็นอย่างดี


การเข้ารหัส โดยสัญญาณด้านบนเป็น สัญญาณ นาฬิกา นำมา โดยสัญญาณแบบ Multiplex ได้มาจาก  modulator  NRZ(L) Exclusive OR หรือ Mod 2 ADD
โดยเราจะพบว่า Base Band เป็นการเข้ารหัส ทางดิจิตอล จากต้นทาง  ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ในมือถือ หรือ Smart Phone ก็ยังใช้ Base Brand ยุเพราะจะส่งสัญญาณ แนวเส้นคลื่นแบบ FM  แต่ก็มีข้อจำกัดทางความเร็วเพราะ เป็นการส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว  หรือเทคโนโลยี CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access/Collision Detection) แปลเป็นไทยคือการส่งสัญญาณโดยใช้คลื่นพาหนะแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวนำ
การส่งสัญญาณข้อมูลแบบ Baseband
คอมพิวเตอร์ทำงานกับสัญญาณที่เป็นระบบดิจิทัล คือ แทนด้วย 0 กับ 1 หรือแรงดันไฟฟ้าสูงกับต่ำ ในระบบเครือข่ายแบบ LAN การส่งข้อมูลในลักษณะของสัญญาณดิจิทัลธรรมดานี้จะเรียกว่า Baseband คือใช้ความถี่พื้นฐานของสัญญาณข้อมูลจริง ไม่ได้ปรับปรุงแต่งเติมแต่อย่างใด แต่การส่งแบบนี้มีปัญหาคือ ถูกรบกวนได้ง่ายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือสัญญาณรบกวนอื่น ๆ เพราะสัญญาณไฟฟ้ามีรูปแบบไม่แน่นอน แล้วแต่ตัวข้อมูลจริง ถ้ามีอะไรแปลกปลอมเข้ามาก็แยกได้ยากว่าอะไรคือข้อมูล อะไรคือสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นจึงมีการนำเอาคลื่นความถี่สูงเข้าใช้เป็นคลื่นพาหะ (carrier) โดยผสมสัญญาณข้อมูลเข้ากับคลื่นพาหะนี้ในแบบของการผสมทางความถี่ (FM: Frequency Modulation) แบบเดียวกับการส่งวิทยุกระจายเสียง FM นั่นเอง แต่เนื่องจากสัญญาณที่เราผสมเข้าไปในคลื่นพาหะนี้มีเพียง 2 ระดับ คือ 0 กับ 1 ดังนั้นคลื่นที่ส่งจึงมีลักษณะเป็นสองความถี่สลับกันไป ดังรูป หรือในบางกรณีอาจใช้การผสมสัญญาณตามจังหวะหรือเฟส (phase) ของสัญญาณก็ได้ การที่นำคลื่นพาหะมาใช้นี้ทำให้ผู้รับสามารถแยกความแตกต่างระหว่างข้อมูล 0 กับ 1 ได้ดีขึ้น โดยดูจากความถี่ ซึ่งถูกรบกวนได้ยากกว่า และการใช้สัญญาณความถี่สูง (แถบความถี่กว้าง) มาช่วยในการส่งข้อมูลนี้ เราเรียกว่า Broadband

วิธีการนี้ดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่าการส่งในแบบ Baseband และส่งได้ด้วยความเร็วสูงกว่า แต่ก็เสียค่าใช้จ่ายมากกว่า เพราะต้องเพิ่มอุปกรณ์ในการจัดการกับสัญญาณที่ความถี่สูงๆ ระดับความถี่วิทยุ (RF: Radio Frequency) เข้าไปด้วย และต้องใช้สาย STP หรือโคแอกเชียล ที่มีโลหะถักล้อมรอบสายกลางอยู่ ในการนำสัญญาณ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

การทำงานบล็อกไดอะแกรม ของเครื่องรับวิทยุ AM,FM